วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์
ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล
2. ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล
ประเภทของคอมพิวเตอร์
1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดจึงมีราคาสูง ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที
2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน
3. มินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานในด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน
การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะยังจำแนกได้ดังนี้
- All-in-one Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่รวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน
- Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถและราคาสูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไปออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟิก
- Stand-alone Computer หรือคอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สาสมารถทำงานที่เรียกว่า IPOS cycle โดยที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Server Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก บาง และน้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ
6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอุปกรณ์ที่เรียกกันทั่วไปว่า PDA เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคล จดบันทึก ปฏิทินนัดหมาย เครื่องคิดเลข ตลอดจนการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน
เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์
การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) เป็นฮาร์ดแวร์ใด ๆ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โปรแกรม และคำสั่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) กล้องดิจิตอล (Digital Camera) สแกนเนอร์ (Scanner) และไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วนและหน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic/Logic Unit : ALU) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นชิบหรือวงจรอิเล็กทรอนำกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล หน่วยความจำหลักจะบรรจุอยู่บนแผงวงจรหลักหรือที่เรียกว่า เมนบอร์ด (Mainboard) หน่วยความจำหลักที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะมี 3 ประเภทคือ
- หน่วยความจำแรม เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรมบางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile Memory)
- หน่วยความจำรอม เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม
- หน่วยความจำซีมอส เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจแสดงในรูปของการพิมพ์รายงานด้วยเครื่องพิมพ์ การแสดงผลทางจอภาพและการแสดงในรูปของเสียงและวิดีโอ
5. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices) ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล โดยสามารถจัดเก็บไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายได้แก่ แผ่นดิสเกตต์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นคอมแพคดิสก์และแผ่นดีวีดี
การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน
2. การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
กรณีศึกษา : การใช้พีดีเอในร้านขายก๋วยเตี๋ยว
1. ประโยชน์ที่ได้จากการนำพีดีเอมาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
ตอบ = 1. ไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสั่งก๋วยเตี๋ยวของลูกค้า
2. คิดเงินให้ลูกค้าได้สะดวก รวดเร็วและไม่เกิดข้อผิดพลาด
3. ช่วยให้รายงานยอดขายในแต่ละวันได้รวดเร็วอีกด้วย
2. ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีมาใช้ในธุรกิจนี้
ตอบ = 1. พนักงานในร้านบางคนไม่สามารถใช้เครื่องพีดีเอได้โดยต้องเสียเวลาในการสอนให้กับพนักงาน
2. เครื่องพีดีเอมีราคาที่สูงเกินไป
3. หากเครื่องเกิดปัญหาก็จะส่งผลให้ทำงานได้ล่าช้า
3. ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จงอธิบาย
ตอบ = ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง เพราะลูกค้าบางคนอาจจะซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากหรืออาจจะมีการโทรมาสั่งสินค้านั้นซึ่งในการสั่งสินค้านั้นจะต้องมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะถ้าเรานำเซฟเวอร์ตัวนี้เข้ามาช่วยก็จะลดการผิดพลาดในการสั่งสินค้าของลูกค้าลงได้
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น