วันอาทิตย์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

บทที่ 2 การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์

วงจรการทำงานของคอมพิวเตอร์

ในการทำงานของคอมพิวเตอร์ จะมีขั้นตอนการทำงานพื้นฐาน 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. รับข้อมูล (Input) คอมพิวเตอร์จะทำหน้าที่รับข้อมูลเพื่อนำไปประมวลผล
2. ประมวลผล (Process) เมื่อคอมพิวเตอร์รับข้อมูลเข้าสู่ระบบแล้ว จะทำการประมวลผลตามโปรแกรมหรือคำสั่งที่กำหนด
3. แสดงผล (Output) คอมพิวเตอร์จะแสดงผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผลไปยังหน่วยแสดงผล
4. จัดเก็บข้อมูล (Storage) คอมพิวเตอร์จะทำการจัดเก็บข้อมูลลงในอุปกรณ์เก็บข้อมูล


ประเภทของคอมพิวเตอร์

1. ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Supercomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดจึงมีราคาสูง ความสามารถในการประมวลผลที่ทำได้ถึงพันล้านคำสั่งต่อวินาที
2. คอมพิวเตอร์เมนเฟรมหรือคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ (Mainframe Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพรองจากซูเปอร์คอมพิวเตอร์ สามารถรองรับการทำงานจากผู้ใช้ได้หลายร้อยคนในเวลาเดียวกัน
3. มินิคอมพิวเตอร์หรือคอมพิวเตอร์ขนาดกลาง (Minicomputer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพในการทำงานในด้านความเร็วและความสามารถในการจัดเก็บข้อมูลน้อยกว่าเมนเฟรมแต่สูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ
4. คอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะ (Desktop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็กเหมาะกับโต๊ะทำงานในสำนักงาน สถานศึกษา และที่บ้าน
การแบ่งประเภทของคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะยังจำแนกได้ดังนี้
- All-in-one Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่รวมจอภาพและหน่วยประมวลผลอยู่ในอุปกรณ์เดียวกัน
- Workstation เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถและราคาสูงกว่าคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะทั่วไปออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการคำนวณและกราฟิก
- Stand-alone Computer หรือคอมพิวเตอร์ระบบเดี่ยว เป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สาสมารถทำงานที่เรียกว่า IPOS cycle โดยที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์
- Server Computer เป็นคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะที่มีความสามารถเช่นเดียวกับเครื่องคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์
5. คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊ค หรือบางครั้งเรียกว่า แล็ปท็อปคอมพิวเตอร์ (Laptop Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลที่มีขนาดเล็ก บาง และน้ำหนักเบา เหมาะแก่การพกพาไปใช้ในสถานที่ต่าง ๆ
6. Hand-held Personal Computer หรือ Palmtop Computer เป็นคอมพิวเตอร์พกพาที่มีขนาดเล็กที่สุดเป็นอุปกรณ์ที่เรียกกันทั่วไปว่า PDA เป็นอุปกรณ์ที่สามารถจัดการข้อมูลส่วนบุคคล จดบันทึก ปฏิทินนัดหมาย เครื่องคิดเลข ตลอดจนการใช้งานอินเทอร์เน็ต
7. คอมพิวเตอร์แบบฝัง (Embedded Computer) เป็นคอมพิวเตอร์ที่ฝังในอุปกรณ์ต่าง ๆ นิยมนำมาใช้ทำงานเฉพาะด้าน


เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์

การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์นั้นจะประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก 6 ส่วนคือ
1. อุปกรณ์รับข้อมูล (Input Devices) เป็นฮาร์ดแวร์ใด ๆ ที่ทำหน้าที่รับข้อมูล โปรแกรม และคำสั่งเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์รับข้อมูลที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ แป้นพิมพ์ (Keyboard) เมาส์ (Mouse) กล้องดิจิตอล (Digital Camera) สแกนเนอร์ (Scanner) และไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
2. หน่วยประมวลผลกลาง (Central Processing Unit : CPU) เป็นวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 2 ส่วนคือ หน่วยควบคุม (Control Unit) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ทุกส่วนและหน่วยคำนวณตรรกะ (Arithmetic/Logic Unit : ALU) ทำหน้าที่คำนวณทางคณิตศาสตร์และเปรียบเทียบทางตรรกศาสตร์
3. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) เป็นชิบหรือวงจรอิเล็กทรอนำกส์ที่ใช้บันทึกโปรแกรมและข้อมูล หน่วยความจำหลักจะบรรจุอยู่บนแผงวงจรหลักหรือที่เรียกว่า เมนบอร์ด (Mainboard) หน่วยความจำหลักที่รู้จักกันโดยทั่วไปจะมี 3 ประเภทคือ
- หน่วยความจำแรม เป็นอุปกรณ์หรือแผงวงจรที่ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและโปรแกรมคอมพิวเตอร์ หน่วยความจำแรมบางครั้งเรียกว่าหน่วยความจำชั่วคราว (Volatile Memory)
- หน่วยความจำรอม เป็นหน่วยความจำที่บันทึกข้อสนเทศและคำสั่งเริ่มต้นของระบบ คุณสมบัติเด่นของรอมคือ ข้อมูลและคำสั่งจะไม่ถูกลบหายไปถึงแม้ว่าจะปิดเครื่องคอมพิวเตอร์หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงแล้วก็ตาม
- หน่วยความจำซีมอส เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บข้อสนเทศที่ใช้เป็นประจำของระบบคอมพิวเตอร์
4. อุปกรณ์แสดงผล (Output Devices) เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่แสดงผลที่ได้จากการประมวลผลข้อมูล ซึ่งอาจแสดงในรูปของการพิมพ์รายงานด้วยเครื่องพิมพ์ การแสดงผลทางจอภาพและการแสดงในรูปของเสียงและวิดีโอ
5. อุปกรณ์เก็บข้อมูลสำรอง (Secondary Storage Devices) ใช้สำหรับจัดเก็บโปรแกรมและข้อมูลเพื่อใช้ในการประมวลผล โดยสามารถจัดเก็บไว้ได้ถึงแม้ว่าจะไม่มีกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงก็ตาม อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสำรองที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายได้แก่ แผ่นดิสเกตต์ ฮาร์ดดิสก์ แผ่นคอมแพคดิสก์และแผ่นดีวีดี


การบริหารทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์

ผู้บริหารมีบทบาทสำคัญยิ่งในการจัดการทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์ให้เกิดการใช้งานให้ได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งในการจัดการกับทรัพยากรไอทีด้านฮาร์ดแวร์นั้นมีประเด็นในการพิจารณาดังนี้
1. การกำหนดแนวทางจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกับความจำเป็นและการแข่งขันของธุรกิจในยุคปัจจุบัน
2. การกำหนดมาตรฐานในการจัดซื้อจัดหาทรัพยากรฮาร์ดแวร์
3. การจัดทำระบบข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์


กรณีศึกษา : การใช้พีดีเอในร้านขายก๋วยเตี๋ยว
1. ประโยชน์ที่ได้จากการนำพีดีเอมาใช้ในธุรกิจร้านก๋วยเตี๋ยวมีอะไรบ้าง
ตอบ = 1. ไม่ทำให้เกิดข้อผิดพลาดในการสั่งก๋วยเตี๋ยวของลูกค้า
2. คิดเงินให้ลูกค้าได้สะดวก รวดเร็วและไม่เกิดข้อผิดพลาด
3. ช่วยให้รายงานยอดขายในแต่ละวันได้รวดเร็วอีกด้วย
2. ท่านคิดว่ามีข้อจำกัดหรือปัญหาอะไรบ้างในการนำเทคโนโลยีพีดีมาใช้ในธุรกิจนี้
ตอบ = 1. พนักงานในร้านบางคนไม่สามารถใช้เครื่องพีดีเอได้โดยต้องเสียเวลาในการสอนให้กับพนักงาน
2. เครื่องพีดีเอมีราคาที่สูงเกินไป
3. หากเครื่องเกิดปัญหาก็จะส่งผลให้ทำงานได้ล่าช้า
3. ธุรกิจใดบ้างที่สามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้ จงอธิบาย
ตอบ = ร้านขายอุปกรณ์ก่อสร้าง เพราะลูกค้าบางคนอาจจะซื้อสินค้าเป็นจำนวนมากหรืออาจจะมีการโทรมาสั่งสินค้านั้นซึ่งในการสั่งสินค้านั้นจะต้องมีรายละเอียดค่อนข้างเยอะถ้าเรานำเซฟเวอร์ตัวนี้เข้ามาช่วยก็จะลดการผิดพลาดในการสั่งสินค้าของลูกค้าลงได้

ข่าวไอที

แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology03c&content=67695

สัมผัสสินค้า-บริการเชื่อมเน็ตจากมุม มองผู้บริหาร “โซโลมอน” [10 พ.ย. 50 - 06:35]
เมื่ออินเทอร์เน็ตไม่ว่าจะเป็นในภาครัฐ ภาคธุรกิจ หรือ คอนซูมเมอร์ มีการขยายตัวและเติบโตมากขึ้น ย่อมทำให้ธุรกิจต่อ เนื่องอื่นๆ ขยายตัวและเติบโตตามไปด้วย
ดังนั้น ในปัจจุบันจึงมีผู้ประกอบการนำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตเปิดตัว หรือ แนะนำตัว กับตลาดในเมืองไทยหลายราย โดยแต่ละรายอาจจะใช้ซอฟท์แวร์และฮาร์ดแวร์ที่แตกต่างกันไป
บริษัท “โซโลมอน เทคโนโลยี ไทยแลนด์ จำกัด” เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่นำเข้าอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ที่มีสำนักงานใหญ่อยู่ในไต้หวัน และสำนักงานในประเทศไทย ที่รับผิดชอบดูแลธุรกิจในประเทศไทยอย่างเต็มตัว
ดังนั้น แขกรับเชิญของเราในวันนี้ จึงเป็น “ฐิติพนธ์ อุ่นประดิษฐ์” ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายพัฒนาธุรกิจ บริษัท โซโลมอน เทคโนโลยี ไทยแลนด์ จำกัด และทีมงาน


สำหรับเนื้อหาการพูดคุยกันจะเป็นอย่างไร เชิญทุกท่านติดตามกันได้ ณ บัดนี้...
IT Exclusive: อยากให้ช่วยแนะนำ บริษัท โซโลมอน เทคโนโลยี ไทยแลนด์?
ฐิติพนธ์: บริษัท โซโลมอน เทคโนโลยี ไทยแลนด์ จำกัด เดิมมีบริษัทแม่อยู่ที่ไต้หวัน และทำโรงงานเป็นของตัวเอง โดยผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และชิ้นส่วนอุปกรณ์ไอทีต่างๆ
สำหรับ บริษัท โซโลมอน เทคโนโลยี ไทยแลนด์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1992 หรือ ประมาณ 15 ปีที่ผ่านมา โดยเริ่มแรกบริษัทฯ ทำธุรกิจนำเข้าชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มาขายให้กับโรงงานอุตสาหกรรม แต่ต่อมาได้ขยายมาทำตลาดคอนซูมเมอร์ เพราะเล็งเห็นถึงศักยภาพและโอกาสทางการตลาด โดยนำเข้าสินค้าจำพวกโทรศัพท์บ้าน
ขณะนั้น เราก่อตั้งบริษัทฯ ในประเทศไทยมาประมาณ 3 ปี โดยเริ่มทำตลาดคอนซูมเมอร์จากโทรศัพท์บ้านและจีพีอาร์เอส โมเด็ม ภายใต้ชื่อแบรนด์โซโลมอน
ทำตลาดประมาณ 3 ปี ก็เริ่มหันมาทำตลาดไอที โดยเริ่มจากจีพีอาร์เอส โมเด็ม ยูเอสบีและเอดีเอสแอลโมเด็มมาขายให้กับผู้ให้บริการ โดยในส่วนของเอดีเอสแอล โมเด็มมีตลาดผู้ให้บริการ ส่วนจีพีอาร์เอส โมเด็มและยูเอสบี โมเด็มทำตลาดทั่วไป โดยขายดีลเลอร์และผู้ให้บริการ และในส่วนของโทรศัพท์บ้านก็ขายตามห้างสรรพสินค้าทั่วๆ ไป

IT Exclusive: ดูเหมือนในไทยคนจะรู้จักจีพีอาร์เอส โมเด็มของโซโลมอนมากที่สุด?
ฐิติพนธ์: ตรงนี้ ต้องยอมรับ และตอนนี้ ก็มีเทคโนโลยีใหม่เข้ามา อย่างไรก็ตาม คนเริ่มรู้จักโซโลมอนตั้งแต่โทรศัพท์บ้าน และมารู้จักมากขึ้นเมื่อทำตลาดเอดจ์ ยูเอสบี โมเด็ม โดยเฉพาะในกลุ่มคนทำงานและนักศึกษา ที่รู้จักโซโลมอนมากขึ้นหลังจากทำตลาดเอดจ์ ยูเอสบี โมเด็ม อย่างไรก็ตาม ยังมีลูกค้าที่รู้จักจากการขาย-ซื้อเอดีเอสแอล โมเด็มสำหรับบอร์ดแบนด์และโทรศัพท์บ้าน
ตั้งแต่บริษัทฯ หันมาทำตลาดสินค้าไอที ยอดขายก็เพิ่มในอัตราเท่าตัวมาตลอด โดย 3 ปีที่ผ่านมา จะขายสินค้าไอทีเป็นหลัก โดยเน้นคุณภาพของสินค้า รวมทั้งเป็นสินค้าที่ได้รับการยอมรับ มีการใช้งานในต่างประเทศมาแล้ว และการให้บริการหลังการขาย

IT Exclusive: ผลประกอบการที่ผ่านมา เป็นอย่างไร บ้าง?
ฐิติพนธ์: ตั้งแต่หันมาทำตลาดสินค้าไอทียอดขายเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัวในทุกๆ ปี โดยปีที่ผ่านมา และปีนี้ มียอดขายอยู่ที่ประมาณ 200-300 ล้านบาท

IT Exclusive: สัดส่วนของรายได้กับสินค้าที่จำหน่ายเป็นอย่างไร?
ฐิติพนธ์: รายได้ทั้งหมดมาจากสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ในกล่มอุตสาหกรรมประมาณ 30% ส่วนสินค้ากลุ่มคอนซูมเมอร์รวมๆ แล้วประมาณ 70% โดยแยกเป็นจีพีอาร์เอส โมเด็มและเอดจ์ โมเด็มประมาณ 30% โทรศัพท์บ้านประมาณ 10% และเอดีเอสแอล โมเด็มอีกประมาณ 60%
สำหรับในส่วนของเอดีเอสแอล โมเด็มส่วนใหญ่จะทำตลาดร่วมกับผู้ให้บริการรายใหญ่ เพราะจะต้องผ่านการปรับระบบซอฟต์แวร์ และทดสอบระบบให้เข้ากับระบบของผู้ให้บริการแต่ละรายเพื่อให้สามารถใช้งานได้กับทุกระบบทั่วประเทศ โดยตรงนี้ จะต้องเป็นเทคนิคซับพอร์ตจากเจ้าของโปรดักส์

IT Exclusive: วางแผนธุรกิจในปีหน้าไว้อย่าง?
ฐิติพนธ์: ถ้าเป็นสินค้าใหม่จะเปิดตัวสินค้า 3 ตัว โดยจะเป็นโฮมเกตเวย์ และเริ่มการพัฒนาสินค้ากับผู้ให้บริการโครงข่ายเพื่อทำให้สามารถขยายการให้บริการแก่ลูกค้าทั้งด้านวีโอไอพี พริ้นเตอร์แชร์ ไวไฟและโทรศัพท์บ้าน เป็นต้น สำหรับการพัฒนาสินค้านั้น จะร่วมกับผู้ให้บริการระบบทุกราย เพราะโครงข่ายและระบบโทรคมนาคมของผู้ให้บริการระบบแต่ละรายในประเทศไทยไม่ต่างกัน
อย่างไรก็ตาม ในส่วนของเอดจ์ ยูเอสบี โมเด็มจะแบ่งการทำตลาดและพัฒนาออกเป็น 2 ค่าย คือ เอดจ์สำหรับผู้ใช้บริการระบบจีเอสเอ็ม และซีดีเอ็มเอ แต่ทั้งนี้ ต้องขึ้นอยู่กับผู้ให้บริการและความต้องการของลูกค้าด้วย
ในส่วนของวีโอไอพีบริษัทฯ จะเปิดตัววีโอไอพีโฟนเนื่องจากในอนาคตเชื่อว่า จะมีการเปิดให้บริการมากขึ้น โดยวีโอไอพีรุ่นจะเป็นโทรศัพท์บ้านที่สามารถใช้ร่วมกับอุปกรณ์รองรับเอสไอพี เช่น พีบีเอ็กและซอฟท์สวิช เพื่อตอบสนองความต้องการใช้งานโซลูชั่นที่หลากหลาย

IT Exclusive: ปีหน้าตั้งเป้าหมายรายได้ไว้ที่เท่าไร?
ฐิติพนธ์: รายได้น่าจะเพิ่มจากเดิมประมาณ 20% จากปีนี้ และปีที่ผ่านมา ที่รายได้รวมอยู่ที่ประมาณ 400 ล้านบาท ใกล้เคียงกัน เพราะเชื่อว่า ลูกค้ามีความต้องการและสินค้าตรงกับความต้องการของลูกค้ามากพอสมควร
IT Exclusive: สภาพตลาดและการแข่งขันในธุรกิจไอทีเน็ตเวิร์คเป็นอย่างไร?
ฐิติพนธ์: ตรงนี้ ต้องแยกสินค้าออกเป็นรายตัว โดยในส่วนของเอดีเอสแอล โมเด็มการแข่งขันสูง เพราะมีสินค้าจากจีนเข้ามาทำตลาดมาก แต่เราจะเน้นคุณภาพของสินค้าและบริการหลังการขายเป็นหลัก โดยเชื่อว่า จะสามารถรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดเอาไว้ได้
ส่วนในกลุ่มเอดจ์ ยูเอสบี โมเด็มเราเป็น 1 ใน 3 ของตลาด อย่างไรก็ตาม สินค้าในกลุ่มนี้ เราจะเน้นการทำตลาดถึงผู้บริโภคมากขึ้น ทั้งในกลุ่มนักศึกษาและคนทำงานทั่วไป โดยจะทำทั้งผ่านสื่อ อีเว้นท์และโรดโชว์ร่วมกับพันธมิตร ที่เชื่อว่า สามารถขยายยอดขายได้
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ พบว่า ผู้บริโภคให้ความสนใจวีโอไอพีโฟนมากขึ้น จากปัจจุบันที่มียอดการใช้โทรศัพท์บ้านประมาณ 6-7 ล้านเลขหมาย แต่ในอนาคตกลุ่มผู้ใช้โทรศัพท์บ้านเหล่านี้ จะหันมาใช้วีโอไอพีเป็นส่วนใหญ่ ขณะเดียวกันผู้ให้บริการก็จะเปลี่ยนจากให้บริการโทรบ้านมาเป็นวีโอไอพีมากขึ้น เพราะราคาประหยัดทั้งภายในและภายนอกประเทศ โดยจะเป็นคู่แข่งขันที่สำคัญของโทรศัพท์มือถือ

IT Exclusive: เทรนด์ของตลาดในปีหน้าจะเป็นอย่างไร นอกจากวีโอไอพีที่เชื่อว่า จะมาแรง?
ฐิติพนธ์: จะมีเทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามามากขึ้น โดยจะเป็นไปในลักษณะโมบิลิตี้ หรือ การใช้งานระหว่างการเคลื่อนที่ ที่จะทำให้มีความสะดวกและสบายมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นโทรศัพท์มือถือ 3จี 4 จี และการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ขณะเดียวกันผู้บริโภคก็จะให้ความสนใจมากขึ้น

IT Exclusive: คู่แข่งที่สำคัญของโซโลมอนคือใคร?
ฐิติพนธ์: มีหลายราย โดยในกลุ่มของเอดจ์ ยูเอสบี โมเด็ม เช่น เซียร่าและหัวเหว่ย ที่ส่วนใหญ่มาจากจีน และเน้นปัจจัยด้านราคาเป็นหลัก แต่ว่า เราเองจะไม่แข่งขันด้านราคา โดยจะเน้นที่คุณภาพและบริการหลังการขายเป็นหลัก เพราะถ้าขายราคาต่ำและเสียราคาผู้ผลิตจะอยู่ลำบาก
ในปีต่อๆ ไป เราจะเน้นเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาส่วนอีกค่าย คือ ซีดีเอ็มเอ ที่มีความเร็วมากกว่าและสามารถดาวน์โหลดข้อมูล แต่สัญญาณยังไม่ครอบคลุมเราก็จะยังทำตลาด
อย่างไรก็ตาม รายอื่นๆ โดยเฉพาะสินค้าราคาถูกจะขายทิ้งเป็นหลัก แต่ของเราจะซับพอร์ตให้ โดยยมีคอลล์เซ็นเตอร์คอยซัพพอร์ตให้ตลอด 24 ชั่วโมง
ทั้งนี้ ราคาขายเอดจ์ ยูเอสบี โมเด็มของเราจะอยู่ที่ประมาณ 6,900 บาท โดยเราจะเน้นตลาดระดับกลาง กลุ่มนักศึกษาและคนทำงานทั่วไป อย่างไรก็ตาม เราจะทำให้ผู้บริโภคเข้าถึงสินค้าได้ แต่จะไม่แข่งขันด้านราคา

IT Exclusive: กลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจปีหน้าจะเป็นอย่างไร?
ฐิติพนธ์: เรามีได้ส่งพนักงานไปดูสินค้าในต่างประเทศและตามงานนิทรรศการด้านไอทีใหญ่ๆ ระดับโลก ก่อนนำมาทำตลาดในประเทศไทย และคิดว่า จะมีการเปิดตัวสินค้าใหม่แน่ๆ แต่ยังไม่สามารถบอดได้ว่า จะเป็นอะไรบ้าง
นอกจากนี้ การที่บริษัทฯ มีพันธิตรรายใหญ่ คือ ทอมสัน จากฝรั่งเศษ ทำให้รับประกันได้ว่า เทคโนโลยีและในแง่ความนิยมของตลาดเราก็สามารถแข่งขันได้

IT Exclusive: ปัญหาการเมืองและเศรษฐกิจมีผลกระบทกับยอดขายหรือไม่ และมากน้อยแค่ไหน?
ฐิติพนธ์: ปกติยอดขายจะโตประมาณ 10-20% แต่สถานการณ์แบบนี้ ทำให้ยอดขายโตไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด เมื่อเปรียบเทียบกับปีที่แล้ว และเมื่อการเมืองนิ่งการเติบโตของตลาดและการขยายยอดขายโซโลมอนก็จะโตขึ้นด้วย
ปกติเราจะโตประมาณ 10-20% ต่อปี แต่สถานการณ์แบบนี้ ทำให้ยอดขายไม่โตตามกำหนด ดังนั้น เมื่อเปรียบเทียบกันปีที่แล้วตลาดโกลาหลเท่ากันทั้งๆ ที่น่าจะโตมากกว่านี้
อย่างไรก็ตาม เมื่อการเมืองนิ่งการโตของตลาดและยอดขายน่าจะเติบโตตามขึ้นด้วย อันจะมีผลต่อย่อขาย เพราะสินค้าของเราเน้นทำตลาดกับลูกค้าองค์กรและผู้ให้บริการโครงข่าย

IT Exclusive: มีอะไรอยากฝากถึงผู้อ่านบ้าง?
ฐิติพนธ์: งานไอซีทีเอ็กซ์โปปีนี้ เราได้เข้าร่วมงานเป็นปีที่ 3 โดยจะมีการนำเสนอสินค้าที่เป็นโซลูชั่นในการติดต่อเชื่อมต่อในรูปแบบต่างๆ ที่สามารถใช้อินเตอร์เน็ตได้ทุกที่ทุกเวลา อย่างไรก็ตาม ภายในบูธจะมีการนำเสนอสินค้า พร้อมทั้งสามารถทดลองใช้ได้กับผู้ให้บริการโครงข่ายหลายราย

ปริศนาอักษรไขว้

1. อุปกรณ์ที่ใช้แปลงสัญญาณระหว่างแอนะล็อกกับดิจิทัล
= Modem
2. ข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวล
= Data
3. โปรแกรมเฉพาะที่ช่วยให้อุปกรณ์รับ/ส่งข้อมูลสามารถสื่อสารกับคอมพิวเตอร์ได้
= Dovicedrivers
4. คอมพิวเตอร์มือถือที่ใช้แพร่หลายที่สุด
= PDA
5. บริการบนอินเตอร์เน็ตที่ช่วยให้เข้าถึงทรัพยากรต่าง ๆ โดยผ่านส่วนติดต่อแบบมัลติมีเดีย
= WWW
6. เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก
= Internet
7. อุปกรณ์ทางกายภาพของไมโครคอมพิวเตอร์
= Hardware
8. ไฟล์ที่สร้างจากโปรแกรมประมวลผลคำ
= Document files
9. ข้อมูลที่ผ่านการประมวลผลแล้วด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์
= Information
10. กฎหรือแนวทางในการใช้ซอฟต์แวร์ ฮาร์ดแวร์และข้อมูล
= Procedures
11. ชุดคำสั่งที่สั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน
= Software
12. ผู้ที่ใช้คอมพิวเตอร์ผลิตงานต่างๆ
= End user
13. ไมโครคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง
= Tablet pc
14. ส่วนที่ทำหน้าที่ประสานงานกับทรัพยากรต่างๆ ของคอมพิวเตอร์
= Operating system
15. ไฟล์ทีสร้างจากโปรแกรมจัดการฐานข้อมูลDatabase
= Files
16. องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดของระบบสารสนเทศ
= People
17. อุปกรณ์ที่บรรจุด้วยชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์จำนวนมาก
= Chassis

วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ข่าวเกี่ยวกับไอที

แหล่งที่มา : http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology03a&content=67065

IPv6 เปลี่ยนถ่ายเทคโนฯ เก่าสู่เครือ ข่ายอินเทอร์เน็ตยุคใหม่ [5 พ.ย. 50 - 06:19]
เป็นดังที่เข้าใจกันอย่างกว้างขวางว่า อินเทอร์เน็ต คือ อภิมหาเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก อีกทั้งยังเป็นเครือข่ายสารพัดประโยชน์จนใครที่ไม่เคยใช้งานอินเทอร์เน็ตอาจจะเป็นบุคคลตกยุคสมัยไปได้ง่ายๆ

ด้วยเหตุนี้เอง ทำให้แต่ละปีการเติบโตของการใช้งานเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทั่วโลกรวมถึงประเทศไทยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนทำให้หมายเลขติดต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต หรือ ไอพี แอดเดรส ที่เปรียบเสมือนหมายเลขโทรศัพท์ที่ใช้ติดต่อสื่อสารกันกำลังจะหมดไปในอนาคต ดังนั้น หลายประเทศจึงเริ่มนำเอาเทคโนโลยีการติดต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 6 หรือ IPv6 มาใช้ควบคู่กับเทคโนโลยีการติดต่อบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตรุ่นที่ 4 หรือ IPv4

อย่างไรก็ตาม หลายคนที่ยังไม่รู้อาจจะสับสนว่า การเปลี่ยนไปใช้ IPv6 นั้น จำเป็นหรือไม่ แท้จริงแล้วผลกระทบเป็นเช่นไร และในประเทศไทยผู้เกี่ยวข้องมีความพร้อมให้บริการมากน้อยแค่ไหนและอย่างไร ดังนั้น วันนี้…เราจะพากันไปหาคำตอบเหล่านี้ กัน

รศ.ดร.สินชัย กมลภิวงศ์ สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหา วิทยาลัยสงขลานครินทร์ ให้คำตอบเกี่ยวกับความสำคัญและความจำเป็นในการใช้งาน IPv6 ว่า IPv4 เริ่มเปิดใช้งานมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1981 รวมระยะเวลามากกว่า 26 ปี มีเลขหมายรองรับ 4.29 พันล้านเลขหมาย อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันเลขหมาย IPv4 ถูกใช้งานแล้ว 2.5 พันล้านเลขหมาย โดยคาดว่า จะหมดไปประมาณปี ค.ศ. 2010

“มีการแจกจ่าย IPv4 ไปแล้ว 2.5 พันล้านเลขหมาย 1.4 พันล้านเลขหมายอยู่ในอเมริกา 550 ล้านเลขหมายอยู่ในยุโรป 155 ล้านเลขหมายอยู่ในญี่ปุ่น 125 ล้านเลขหมายอยู่ในจีน 20 ล้านเลขหมายอยู่ในอเมริกาใต้และอีก 100 ล้านเลขหมายอยู่ในที่อื่นๆ ทั่วโลก ส่วนในประเทศไทยมีการใช้งาน 3.47 ล้านเลขหมายจากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตประมาณ 13 ล้านราย” อาจารย์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ม.สงขลานครินทร์ อัพเดทสถานะจำนวนเลขหมาย IPv4 ในปัจจุบัน

รศ.ดร.สินชัย เชื่อว่า จากจำนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า IPv4 จะหมดในเร็วๆ นี้ โดยภายในปี ค.ศ.2050 มีข้อมูลว่า จะมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากถึง 9 พันล้านเลขหมาย ขณะที่ในปี ค.ศ.2006 ที่ผ่านมา มีผู้ใช้โทรศัพท์มือถือทั่วโลกแล้ว 2.03 พันล้านเครื่อง และมีแนวโน้มว่า จะมีการใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือและอุปกรณ์สื่อสารอื่นๆ ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ

“ปัจจุบันและอนาคตจะมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตด้วยแท็ปเลตพีซีและพีดีเอ เป็นต้น ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่น 3 จี ไวไฟ และไวร์แม็ก เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะส่งผลให้ IPv4 ที่เหลือจำนวนจำกัดอาจไม่เพียงพอต่อความต้องการ ดังนั้น ช่วงนี้หลาย ๆ ประเทศจึงเตรียมพร้อมและให้ความรู้การใช้งาน IPv6 ที่มีเลขหมายไว้รองรับมากถึง 340 ล้านล้านล้านล้านเลขหมาย โดยเฉพาะประเทศไทยที่มีกระทรวงไอซีทีได้นำเทคโนโลยีดังกล่าว มาเผยแพร่ให้กับประชาชน”

สำหรับผลดีของการนำ IPv6 มาใช้ อาจารย์สถาบันวิจัยเทคโนโลยีเครือข่าย ม.สงขลานครินทร์ ชี้ให้เห็นว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่เปลี่ยน เพราะว่า ในที่สุดเราจะไม่มีเลขหมาย IPv4 ให้ใช้งาน รวมทั้งยากลำบากในการเชื่อมต่อกับประเทศอื่นและอุตสาหกรรมไอซีทีคงยากลำบาก นอกจากนั้น ยังจะทำให้อุปกรณ์คอนซูมเมอร์ อิเล็กทรอนิกส์ หรือ ซีอี สามารถเพื่อให้สามารถเชื่อต่อและใช้งานร่วมกันผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตด้วยเลขหมาย IPv6

และมาถึงทุกวันนี้ รศ.ดร.สินชัย อัพเดทแผนงานและสถานการณ์การใช้งาน IPv6 ในประเทศอื่นๆ ว่า ปัจจุบันอเมริกาได้ประกาศใช้ IPv6 ตั้งแต่ปี ค.ศ 2005 แม้จะได้รับการจัดสรรเลขหมาย IPv4 มากที่สุด ส่วนประเทศในแถบเอเชีย เช่น ญี่ปุ่น ที่มีการใช้งานอินเทอร์เน็ตอยู่ในอันดับต้นๆ นั้น ได้เตรียมให้หน่วยงานราชการใช้งาน IPv6 อย่างเป็นทางการภายในปี ค.ศ.2008 ส่วนเกาหลีจะใช้การเชื่อมต่อซีอี IPv6 ในปี ค.ศ.2010 โดยปี ค.ศ.2008 จะเปิดให้บริการ IPv6 ในเชิงพาณิชย์

ในส่วนของเมืองไทย ดร.อาจิน จิรชีพพัฒนา ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือ ไอซีที เปิดเผยว่า กระทรวงไอซีทีได้เตรียมความพร้อมเกี่ยวกับการใช้งาน IPv6 เอาไว้แล้ว โดยได้กำหนดแผนไว้ 3 ระยะ ได้แก่ แผนระยะสั้นระหว่าง แผนระยะกลางและแผนระยะยาวเพื่อให้การดำเนินงานของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเกิดความชัดเจนและเป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ผู้อำนวยการสำนักส่งเสริมและพัฒนาการไอซีที กระทรวงไอซีที เปิดเผยแผนการใช้งาน IPv6 ในประเทศไทยว่า ระยะสั้นระหว่างปี พ.ศ. 2550-2551 จะจัดตั้งศูนย์เชี่ยวชาญ IPv6 ที่มีหน้าที่ออกใบรับรอง IPv6 รวมทั้งจัดฝึกอบรมและออกใบ รับรอง ระยะกลางปี พ.ศ.2550-2552 จัดตั้งเครือข่ายภาครัฐให้เป็นโครงข่ายหลักที่สามารถรองรับการใช้งาน และในระยะยาว ปี พ.ศ.2550-2553 กำหนดให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ต หรือ ไอเอสพีสามารถให้ IPv6 แก่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ต

ทางด้าน ดร.เฉลิมพล ชาญศรีภิญโญ นักวิจัยจากศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ หรือ เนคเทค และสมาชิกสมาคม IPv6 ประเทศไทย ให้ข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันการใช้งานและให้บริการ IPv6 ในประเทศไทยว่า ส่วนใหญ่ยังใช้ในเครือข่ายด้านการศึกษาวิจัยและใช้เฉพาะกลุ่ม สำหรับในส่วนของไอเอสพีนั้น หลายรายได้มีการทดสอบการใช้และให้บริการ แต่ยังไม่มีการเปิดให้บริการจริง

“นอกจากนี้ ยังมีการจัดตั้งสมาคม IPv6 ขึ้น เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้งานและให้บริการ รวมทั้งมีการจัดทำนโยบายโดยกระทรวงไอซีที ตลอดจนมีการจัดทำแนวทางและมาตรการกำกับการใช้งานโดย กทช. ส่วนสาเหตุของการใช้งานและให้บริการที่ยังไม่แพร่หลายนั้น เป็นเพราะยังไม่มีคอลเลอร์แอพลิเคชัน ขาดแรงจูงใจในการใช้และให้บริการ รวม ทั้งขาดการผลักดันและสนับสนุนอย่างจริงจัง” นักวิจัยจากเนคเทค ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

จากความเห็นของนักวิชาการข้างต้น คงพอจะทำให้สรุปได้ว่า ในอนาคตอันใกล้นี้ ประเทศไทยและอีกหลายๆ ประเทศในโลกคงจะต้องเปลี่ยนไปใช้ IPv6 เพื่อทดแทน IPv4 ที่กำลังจะหมดไปในอนาคต อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลงทุกสิ่งอย่างอาจจะมีปัญหาติดขัดในตอนเริ่มต้นบ้างเป็นธรรม ดังนั้น การเตรียมความพร้อมจึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้นและก้าวทันกับยุคเทคโนโลยีสารสนเทศที่กำลังแข่งขันกันอย่างเข้มข้นในโลกปัจจุบัน…

วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2550

บทที่ 1 แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

แนวคิดเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ

ข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆ อาจอยู่ในรูปของตัวเลข ตัวอักษร รูปภาพ หรือเสียงก็ได้ เช่น
- จำนวนนักศึกษาชั้นปีที่ 1
- คะแนนสอบวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษา
- ที่อยู่ปัจจุบันของนักศึกษา
- ราคาแผ่นซีดีรอมภาพยนตร์เรื่องแฟนฉัน
- ระเบียบการใช้ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์

สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการประมวลผลข้อมูลและสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการวางแผน การตัดสินใจ และการคาดการณ์ในอนาคตได้ สารสนเทศอาจแสดงในรูปของข้อความ ตาราง แผนภูมิ หรือรูปภาพ

ข้อมูลและสารสนเทศมีความสำคัญต่อการนำไปใช้เพื่อการตัดสินใจ ดังนั้นการจัดการข้อมูลให้มีประสิทธิภาพ รวดเร็ว และทันต่อเหตุการณ์ จึงเป็นหัวใจสำคัญของการประกอบธุรกิจและการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน

ความรู้ หมายถึง การรับรู้และความเข้าใจสารสนเทศจนถึงระดับที่สามารถวิเคราะห์ และสังเคราะห์ได้ คือมีความเข้าใจ (Understanding) ในองค์ประกอบต่างๆ จนอาจสร้างเป็นทฤษฎี หรือเป็นแบบจำลองทางความคิดและสามารถนำไปใช้เพื่อแก้ปัญหาในการดำเนินงานได้


ระบบและระบบสารสนเทศ

ระบบ (System) หมายถึง กลุ่มของส่วนประกอบหรือระบบย่อยต่างๆ ที่มีการทำงานร่วมกันเพื่อให้บรรลุเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งส่วนประกอบของระบบประกอบด้วยการนำเข้าสู่ระบบ (Input) การประมวลผล (Process) ผลลัพธ์ (Output) และการให้ข้อมูลย้อนกลับ (Feedback)

ระบบสารสนเทศ (Information System) หมายถึง การนำเอาองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ

- การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เป็นกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
- การประมวลผล เป็นการนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มี
ความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการตัดสินใจ วางแผน ควบคุม และดำเนินงานด้าน
ต่างๆ
- ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลผล โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือ
รายงานสารสนเทศ

สาเหตุที่ทำให้เกิดสารสนเทศ
1. พัฒนาการของความรู้ สิ่งประดิษฐ์ หรือผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ
2. พัฒนาการาของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์
3. การพัฒนาด้านเทคโนโลยีการสื่อสาร
4. ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีการพิมพ์
5. ความจำเป็นในการใช้สารสนเทศ


ลักษณะของสารสนเทศ
1. ถูกต้องแม่นยำ (Accurate) สารสนเทศที่มีความถูกต้องจะต้องปราศจากข้อผิดพลาดใดๆ
2. สมบูรณ์ครบถ้วน (Complete) สารสนเทศที่มีความสมบูรณ์จะต้องประกอบด้วยข้อเท็จจริงที่สำคัญอย่างครบถ้วน
3. เข้าใจง่าย (Simple) สารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องเข้าใจง่าย ไม่ซ้ำซ้อนต่อการทำความเข้าใจ
4. ทันต่อเวลา (Timely) สารสนเทศที่ดีนอกจากจะมีความถูกต้องแล้ว ข้อมูลต้องทันสมัยและรวดเร็วทันต่อเวลาและความต้องการของผู้ใช้ในการตัดสินใจ
5. เชื่อถือได้ (Reliable) สารสนเทศที่เชื่อได้ขึ้นอยู่กับความน่าเชื่อถือของวิธีการรวบรวมข้อมูลที่นำเข้าสู่ระบบ
6. คุ้มราคา (Economical) สารสนเทศที่ผลิตควรจะต้องมีความประหยัด เหมาะสมคุ้มค่ากับราคา
7. ตรวจสอบได้ (Verifiable) สารสนเทศจะต้องตรวจสอบความถูกต้องได้
8. ยืดหยุ่น (Flexible) สารสนเทศที่มีคุณภาพนั้นควรจะสามารถนำไปใช้ได้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกันหลายๆ ด้าน
9. สอดคล้องกับความต้องการ (Relevant) สารสนเทศที่มีคุณภาพจะต้องมีความสอดคล้องตามวัตถุประสงค์และสนองความต้องการของผู้ใช้เพื่อการตัดสินใจ
10.สะดวกในการเข้าถึง (Accessible) สารสนเทศจะต้องง่ายและสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลตามระดับสิทธิของผู้ใช้
11.ปลอดภัย (Secure) สารสนเทศจะต้องถูกออกแบบและจัดการให้มีความปลอดภัยจากผู้ที่ไม่มีสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลหรือสารสนเทศนั้น

องค์ประกอบของระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์
1. ฮาร์ดแวร์ (Hardware) หมายถึง เครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงเพื่อใช้ในการจัดทำสารสนเทศ
2. ซอฟต์แวร์ (Software) เป็นชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้เครื่องคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ตแวร์ทำงาน
3. ข้อมูล (Data) เป็นส่วนสำคัญอย่างหนึ่งของระบบเพื่อใช้ในการประมวลผลให้ได้สารสนเทศในการตัดสินใจ ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของตัวอักษร ตัวเลข รูปภาพ และเสียง
4. การสื่อสารและเครือข่าย (Telecommunication) เป็นการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เพื่อการสื่อสารและแลกเปลี่ยนโปรแกรมและข้อมูลโดยผ่านสื่อนำข้อมูลต่าง ๆ
5. กระบวนการทำงาน (Procedure) เป็นกฎหรือข้อปฏิบัติ คำแนะนำในการใช้โปรแกรมฮาร์ดแวร์ และการกระทำกับข้อมูล
6. บุคลากร (People) เป็นบุคคลที่จัดการให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอดจนทำงานร่วมกับผู้ใช้เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศให้ตรงกับความต้องการของหน่วยงาน


ความสำคัญของระบบสารสนเทศ
1. การท้าทายของเศรษฐกิจโลก
การเจริญเติบโตของโลกเศรษฐกิจอุตสาหกรรมทำให้ระบบสารสนเทศมีความจำเป็นเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อช่วยขยายโอกาสทางเศรษฐกิจไม่เพียงแต่เศรษฐกิจระดับท้องถิ่นหรือระดับประเทศเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงเศรษฐกิจระดับโลกด้วย ดังนั้นการที่จะดำเนินงานธุรกิจให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลก องค์การจำเป็นจะต้องมีระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้เหมาะสมกับยุคของระบบเศรษฐกิจฐานความรู้

2. การแข่งขันทางการค้า
เนื่องจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่ไร้ขีดจำกัด การทำธุรกิจมีความเป็นอิสระและเสรีมากขึ้นส่งผลให้การแข่งขันทางการค้ามีความรุนแรงมากขึ้นเช่นกัน และในการที่จะแข่งขันให้ชนะคู่แข่งขันได้นั้น ระบบสารสนเทศที่ถูกต้องและทันสมัยเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการแข่งขัน

3. การขยายเครือข่ายทางการค้า
รูปแบบธุรกิจที่แต่เดิมมีการซื้อ-ขายและให้บริการภายในประเทศที่ผลิตสินค้าเท่านั้น ปัจจุบันได้มีการขยายตลาดไปยังสาขาต่าง ๆ รูปแบบที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายคือ ธุรกิจแฟรนไชส์และธุรกิจออนไลน์ในลักษณะของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งระบบสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพจะช่วยส่งเสริมและสนับสนุนการตัดสินใจและทำให้การขายการบริหารงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

4. ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศ
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีสารสนเทศมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตประจำวันของมนุษย์ใน ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ช่วยให้สารสนเทศกระจายไปยังผู้บริโภคได้อย่างมีประสิทธิภาพ สะดวกรวดเร็ว ทำให้องค์การต่าง ๆ ได้นำเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาประยุกต์ใช้เพื่อการพัฒนาระบบสารสนเทศให้มีคุณภาพ เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจ ให้บริการลูกค้า และเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของพนักงาน


ประโยชน์ของระบบสารสนเทศ
1. ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน
2. ช่วยสร้างทางเลือกในการแข่งขัน
3. ช่วยสนับสนุนการตัดสินใจ
4. ช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิต

กรณีศึกษา: การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารงานร้านไอศครีม Iberry
1. ประโยชน์ที่ร้านไอศรีม Iberry นำไอทีเข้ามาช่วยการบริหารงาน นอกจากการแก้ปัญหาข้างต้นแล้วท่านคิดว่าทางร้านยังได้รับประโยชน์ใดได้บ้าง
1.ทำให้ไม่สูญเสียรายได้ที่ต้องเสียไปกับไอศกรีมที่เสียหาย
2. ป้องกันการทุจริตของพนักงานขาย
3. สามารถทราบได้ว่าไอศกรีมรสชาติใดขายได้มากที่สุดและรสชาติใดได้
น้อยที่สุดเพื่อที่จะได้ทำการส่งเสริมการขายได้อย่างถูกต้อง
4. สามารถควบคุมและดูแลสาขายย่อยต่างๆ ให้มีมาตรฐานในการบริการและ
คุณภาพของสินค้าที่เท่าเทียมกัน
5. จัดระบบการทำงานของพนักงานได้ดียิ่งขึ้น
2. ท่านคิดว่าในอนาคตร้านไอศครีม Iberry สามารถนำไอทีเข้ามาช่วยงานด้านใดอีกได้บ้าง
- ในด้านการส่งเสริมการขาย อาจมีการโฆษณาผ่านทาง Internet
- ด้านการบริการลูกค้า อาจจัดทำระบบสมาชิกเพื่อคืนกำไรให้ลูกค้า และการบริการ Delivery
- จัดทำระบบ Franchise เพื่อขยายธุรกิจ
- ช่วยในด้านการลงเวลางานของพนักงานให้ถูกต้องและรวดเร็ว
3. จากแนวคิดการนำไอทีมาใช้แก้ปัญหาของผู้บริหารร้านไอศครีม Iberry นั้น ท่านคิดว่าสามารถนำแนวคิดนี้ไปประยุกต์ใช้กับธุรกิจใดได้บ้าง จงอธิบายและยกตัวอย่างประกอบ
ร้านเช่าหนังสือ
- ติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด เพื่อดูการทำงานของพนักงาน
- ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยในการทำระบบสมาชิก การยืมคืน และการรับสินค้าเข้ามาใหม่
- สร้างระบบการทำงานของร้านให้เป็นระบบที่ดีมากยิ่งขึ้น โดยใช้ซอฟต์แวร์เป็นตัวช่วย- ทำบาร์โคดที่สินค้าป้องกันการขโมยสินค้าได้ทางหนึ่ง
คำถามท้ายบทที่ 1
1. ระบบสารสนเทศคืออะไร และระบบสารสนเทศมีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์อย่างไรบ้าง
ตอบ = ระบบสารสนเทศคือ การนำองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์กันของระบบมาใช้ในการการรวบรวม บันทึก ประมวลผล และแจกจ่ายสารสนเทศเพื่อใช้ในการวางแผน ควบคุม จัดการและสนับสนุนการตัดสินใจ มีผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน โดยการที่ ปัจจุบันการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันต้องอยู่ภายใต้ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและซับซ้อน จึงจำเป็นต้องได้รับข้อมูลข่าวสารต่างๆ ได้อย่างถูกต้องแน่นอนและรวดเร็วและเป็นผลทำให้เกิดการพึ่งพาระบบสารสนเทศต่างๆ เข้ามาใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันมากขึ้น
2. ข้อมูลกับสารสนเทศ และสารสนเทศกับความรู้ แตกต่างกันอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ = ข้อมูลกับสารสนเทศต่างกันก็ตรงที่ ข้อมูลเป็นเพียงข้อเท็จจริงที่ยังไม่ผ่านการประมวลผล ใช้เป็นหลักอนุมานหาค่าความจริงเท่านั้น แต่สารสนเทศเป็นผลที่ได้จากการนำข้อมูลมาผ่านการวิเคราะห์ประมวลผลแล้ว และสมารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทันทีในด้านของสารสนเทศและความรู้ก็ต่างกันตรงที่ ความรู้ต้องประกอบด้วยข้อมูลและสารสนเทศที่ได้รับการจัดระบบและประมวลผลเพื่อนำไปสู่ความเข้าใจและความเชี่ยวชาญในการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับแก้ปัญหาในการดำเนินงาน
3. ส่วนประกอบของระบบสารสนเทศทั่วๆ ไปมีอะไรบ้าง
ตอบ = - การนำข้อมูลเข้าสู่ระบบ เป็นกิจกรรมการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบเพื่อการประมวลผล
- การประมวลผล เป็นการนำทรัพยากรที่ได้นำเข้าสู่ระบบมาปรับเปลี่ยนให้อยู่ในรูปที่มีความหมายเพื่อใช้ประโยชน์ในการ
ตัดสินใจ วางแผน ควบคุม และดำเนินงานด้านต่างๆ
- ผลลัพธ์ เป็นผลผลิตที่ได้จากการประมวลผล โดยทั่วไปจะอยู่ในรูปของเอกสารหรือรายงานสารสนเทศ
4. ระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ คืออะไร มีองค์ประกอบอะไรบ้าง
ตอบ =คือ ระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์มาเป็นตัวช่วยเพื่อสร้างความรวดเร็วในการผลิตสารสนเทศออกมาระบบสารสนเทศคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วยส่วนประกอบหลัก 6 ส่วน คือ
(1) ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
(2) ซอฟต์แวร์ (Software)
(3) ข้อมูลหรือข้อสารสนเทศ (Dataหรือ Information)
(4) การสื่อสารและเครือข่าย (Telecommunication)
(5) กระบวนการทำงาน (Procedure)
(6) บุคลากรทางสารสนเทศ (Information systems personnel)
5. จงยกตัวอย่างระบบใดๆ มา 1 ระบบ พร้อมทั้งจำแนกส่วนประกอบและเป้าหมาย
ตอบ = ระบบ = ร้านเบเกอรี่
ส่วนนำเข้า = แป้ง น้ำตาล เนย ผงฟู ไข่ วัตถุดิบอื่น ๆ
ประมวลผล = การนำไปผสมตามสู่ตรหรือการอบ
ผลลัพธ์ = ขนมเบเกอรี่ต่าง ๆ
เป้าหมาย = การได้เบเกอรี่ที่น่ารับประทานและรวดเร็ว